รู้จัก Jim Chanos นัก short sell ที่ทำกำไรหมื่นล้าน จากคดี Enron



การ “short sell” อธิบายง่ายๆ คือการยืมหุ้นของบริษัทหนึ่งมาขาย
ซึ่งมันสามารถทำกำไรได้มาก ถ้าหากว่าในอนาคตอันใกล้ ราคาหุ้นของบริษัทนั้นลดต่ำลงอย่างมาก
และถ้าพูดถึงเจ้าพ่อแห่งการ short sell
“Jim Chanos” คงเป็นหนึ่งคนที่ต้องพูดถึง
เขาคนนี้ คือคนที่ทำการ short sell หุ้นของบริษัท Enron
อดีตบริษัทด้านพลังงานยักษ์ใหญ่ของโลก
จนสามารถทำกำไรหลัก “หมื่นล้านบาท”
Jim Chanos คนนี้ มีเรื่องราวที่น่าสนใจอย่างไร?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
Jim Chanos เกิดในปี 1957 ที่รัฐวิสคอนซิน ประเทศสหรัฐอเมริกา
ครอบครัวของเขาเป็นชาวยิว ที่อพยพมาตั้งรกรากในสหรัฐอเมริกา
โดยคุณพ่อและคุณแม่ของเขาทำธุรกิจร้านซักแห้ง

Jim Chanos จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์และการเมืองจาก Yale University
และเริ่มทำงานเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ในปี 1982 ก่อนที่จะมาทำงานเป็นนักวิเคราะห์ในเวลาต่อมา
โดยความถนัดที่ขึ้นชื่อว่าเป็นอาวุธลับของเขา คือ การวิเคราะห์บริษัทที่พื้นฐานดีเกินกว่าความเป็นจริงเพื่อทำการ “short sell” หรือ ก็คือ การยืมหุ้นมาขายที่ราคาสูง แล้วรอซื้อหุ้นตัวนั้นในราคาต่ำ
ปี 1985 เขาได้ก่อตั้ง Kynikos Associates
ซึ่งเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญในธุรกรรม short sell
โดยกลยุทธ์การลงทุนของเขาคือ มองหาความผิดปกติหรือความไม่ชอบมาพากลในงบการเงินของบริษัทต่างๆ เพื่อทำการ short sell หุ้นของบริษัทนั้นนั่นเอง
ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ บริษัท “Enron” บริษัทพลังงาน ที่ฮอตที่สุดของสหรัฐอเมริกาในช่วงระหว่างปี 1996-2000
Enron ก่อตั้งขึ้นในปี 1985
โดยกลยุทธ์ของบริษัท คือ การเข้าไปซื้อบริษัทต่างๆ
เพื่อขยายธุรกิจให้ครอบคลุมพลังงานหลากหลายรูปแบบ
โดยเฉพาะธุรกิจก๊าซ ไฟฟ้า รวมไปถึงธุรกิจสื่อสาร และธุรกิจผลิตเยื่อกระดาษ
ช่วงก่อนที่จะล้มละลาย Enron เคยมีมูลค่าบริษัทสูงถึง 2 ล้านล้านบาท
ด้วยมูลค่ามากระดับนั้น ทำให้ Enron ถูกจัดให้เป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 7
รวมทั้งยังเคยได้รับการโหวตให้เป็นบริษัทที่มีนวัตกรรมดีเด่นที่สุด 6 ปีซ้อน ในช่วงระหว่างปี 1996-2001
ในช่วงระหว่างปี 1996-2000 รายได้ของบริษัทเติบโตอย่างก้าวกระโดด
โดยเพิ่มขึ้นจาก 400,000 ล้านบาท มาอยู่ที่ 3,000,000 ล้านบาท
เพิ่มขึ้น 750% ในระยะเวลาแค่ 5 ปี
Jeffrey Skilling อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท
เคยบอกกับนักลงทุน และนักวิเคราะห์ว่า
“ธุรกิจของเราไม่มีอะไรให้ต้องสงสัย Enron ทำธุรกิจง่ายๆ และชัดเจน ใครที่ยังสงสัยในธุรกิจของ Enron แสดงว่า เป็นคนที่ไม่เคยรู้จักเราอย่างแท้จริง”
ในตอนนั้น นักลงทุนส่วนใหญ่ยังคงไว้วางใจ
และให้ความเชื่อมั่นในการเติบโตของ Enron
แต่ Jim Chanos กลับไม่คิดเช่นนั้น
เขาเริ่มตั้งข้อสังเกตว่า จริงๆ แล้ว Enron อาจไม่ได้มีรายได้มากมายมหาศาลอย่างที่เห็น
และเบื้องหลังธุรกิจของ Enron ก็ไม่ได้สวยหรูอย่างที่หลายคนคิด
หลังจากที่เขาวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ผ่านงบการเงินของบริษัท พฤติกรรมการทยอยขายหุ้นของผู้บริหารในเวลานั้น และข้อมูลเชิงลึกอีกหลายอย่าง
เขาก็เริ่มมั่นใจแล้วว่า ข้อสังเกตที่เขาตั้ง มันเป็นเช่นนั้นจริงๆ..
เพราะแท้จริง Enron ไม่ได้มีทรัพย์สินอย่างโรงไฟฟ้า และท่อส่งก๊าซอย่างที่บริษัทกล่าวอ้าง เพราะแท้จริงแล้ว Enron เป็นเพียงธุรกิจที่เป็นตัวกลางในการจับคู่ผู้ที่ต้องการซื้อขายสินค้าด้านพลังงานเท่านั้น
ที่สำคัญ Enron ยังทำการตกแต่งงบการเงิน รวมทั้งบันทึกผลกำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นเป็นผลกำไรจริง
พอเรื่องเป็นแบบนี้ Jim Chanos จึงเริ่มทำการ short sell หุ้นของ Enron ในช่วงที่ราคาหุ้น Enron อยู่ที่ 90 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น แม้ว่าช่วงนั้นนักวิเคราะห์หลายรายที่ยังคงเชื่อมั่นใน Enron จะคาดการณ์กันว่าราคาหุ้นของ Enron จะขึ้นไปถึง 130 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้น
แต่แล้วความจริงทุกอย่างก็เปิดเผย..
Enron ไม่ได้มีรายได้และกำไรตามที่บันทึกไว้จริงๆ
ทำให้ราคาหุ้น ปรับลดลงจนเหลือเพียง 0.61 ดอลลาร์สหรัฐต่อหุ้นในวันสุดท้ายของการซื้อขาย
โดยที่ Jim Chanos ทำกำไรจากการ short sell หุ้น Enron ในครั้งนี้ ไปกว่า 15,000 ล้านบาท
การล้มละลายของ Enron ในเวลานั้น เป็นการล้มละลายที่มีมูลค่าสูงสุดของสหรัฐอเมริกา ด้วยมูลค่ากว่า 2.2 ล้านล้านบาท และทำให้พนักงานเกือบ 3 หมื่นคน ต้องตกงานทันที

บทเรียนสำคัญจากเรื่องนี้
คือการทำธุรกิจอะไรก็ตามถ้ามันเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง
สุดท้ายมันก็จะจบไม่สวยแบบกรณี Enron อยู่ดี
และมันก็มีคนที่คอยจ้องจะจับผิดธุรกิจที่ไม่สุจริตแบบนี้เสมอแบบ “Jim Chanos”..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
บริษัทที่ทำหน้าที่ตรวจสอบบัญชีให้ Enron ในเวลานั้นชื่อว่า Arthur Andersen ซึ่งอดีตเคยเป็น “Big 5” แห่งวงการตรวจสอบบัญชีระดับโลก
โดย Arthur Andersen ได้ร่วมรู้เห็นเป็นใจในการอนุมัติงบการเงินให้แก่ Enron จนนำมาซึ่งหายนะของบริษัทในเวลานั้น
สุดท้าย Arthur Andersen ก็ถูกเพิกถอนใบอนุญาตตรวจสอบบัญชีและปิดกิจการลงในที่สุด จึงทำให้เหลือเพียงแค่บริษัทตรวจสอบบัญชีระดับโลกอย่าง PricewaterhouseCoopers (PwC), Deloitte, EY และ KPMG ที่เรารู้จักกันในชื่อ “Big 4” ในทุกวันนี้นั่นเอง..

ข่าวล่าสุด
-
โบรกเกอร์ Forex เถื่อนอ้างมีใบ กลต. หนีหายไม่จ่ายเงิน
WikiFX | ข้อมูล 2021/1/19 10:55:30
-
3 โบรกเกอร์ Forex ถูกถอดใบอนุญาตจนไม่เหลือแล้ว
WikiFX | ข้อมูล 2021/1/20 11:06:30
-
แนวโน้ม Forex (19 มกราคม 2564)
WikiFX | ข้อมูล 2021/1/19 4:09:03
-
แจกคอร์ส Forex ฟรี ที่เรียนแล้วสามารถทำกำไรในตลาดได้ทันที
WikiFX | ข้อมูล 2021/1/19 8:50:00
-
แนวโน้ม Forex (20 มกราคม 2564)
WikiFX | ข้อมูล 2021/1/20 6:39:39
-
3 รูปแบบของกราฟแท่งเทียน ที่อาจบอกราคาในอนาคต
WikiFX | ข้อมูล 2021/1/21 10:07:45
-
จัดอันดับ ราศีใดในช่วงนี้เทรด Forex จะรวยราศีใดจะร่วง!
WikiFX | ข้อมูล 2021/1/20 8:50:28
-
เม้าแรง! แหล่งข่าวยืนยันนางเอกเอี่ยวคดีดังแชร์ลูกโซ่ Forex 3D
WikiFX | ข้อมูล 2021/1/19 7:16:08
-
หลังจาก Biden สาบานตน XAUUSD อาจขึ้นไปอยู่ที่ 1,950 ดอลลาร์สหรัฐ
WikiFX | ข้อมูล 2021/1/21 4:30:59
-
คลิปวิดีโอ นาทีจับกุม Forex3D คาคอนโดหรู
WikiFX | ข้อมูล 2021/1/21 10:48:33
Thai Baht
- United Arab Emirates Dirham
- Australia Dollar
- Canadian Dollar
- Swiss Franc
- Chinese Yuan
- Danish Krone
- Euro
- British Pound
- Hong Kong Dollar
- Hungarian Forint
- Japanese Yen
- South Korean Won
- Mexican Peso
- Malaysian Ringgit
- Norwegian Krone
- New Zealand Dollar
- Polish Zloty
- Russian Ruble
- Saudi Arabian Riyal
- Swedish Krona
- Singapore Dollar
- Thai Baht
- Turkish Lira
- United States Dollar
- South African Rand

United States Dollar
- United Arab Emirates Dirham
- Australia Dollar
- Canadian Dollar
- Swiss Franc
- Chinese Yuan
- Danish Krone
- Euro
- British Pound
- Hong Kong Dollar
- Hungarian Forint
- Japanese Yen
- South Korean Won
- Mexican Peso
- Malaysian Ringgit
- Norwegian Krone
- New Zealand Dollar
- Polish Zloty
- Russian Ruble
- Saudi Arabian Riyal
- Swedish Krona
- Singapore Dollar
- Thai Baht
- Turkish Lira
- United States Dollar
- South African Rand
- กรุณาใส่จำนวนเงิน
- Thai Baht
- จำนวนเงินที่สามารถแลกได้
- -- United States Dollar