简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:รูปแบบ Price Action ที่สำคัญในการเทรด Forex
Price Action หนึ่งในกลยุทธ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในตลาด Forex ไม่ว่าจะเป็นการเทรดระยะสั้น หรือการเทรดระยะยาว การวิเคราะห์ด้วยกราฟเปล่าๆ แบบ Price Action ก็สามารถช่วยระบุตำแหน่งในการซื้อขายได้ ซึ่ง Price Action มีถึง 12 รูปแบบ นั่นอาจจะทำให้นักเทรดสงสัยกันว่ารูปแบบไหน ที่เหมาะกับการเทรด Forex วันนี้แอดเหยี่ยวเลือกมาให้แล้วกับรูปแบบ Price Action ที่เหมาะกับการเทรด Forex จะมีอะไรบ้าง ตามแอดเหยี่ยวมาเลยครับ
Price Action คืออะไร?
Price Action คือ การวิเคราะห์ทางเทคนิคเพื่อใช้ในการแปลความหมาย และตีความสถานการณ์ของตลาดการเงิน ผ่านการพิจารณารูปแบบราคา หรือ Price Action Pattern ที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าผ่านกราฟราคา มักนิยมเรียกว่า “วิเคราะห์กราฟเปล่า”
รูปแบบ Price Action ที่สำคัญ
รูปแบบ Price Action ที่สามารถใช้ในการเทรด Forex ได้ดี โดยเฉพาะในการวิเคราะห์และการทำความรู้จักกับระดับราคาสำหรับการหยุดและการกำหนดเป้าหมาย มีดังต่อไปนี้
1.รูปแบบ Price Action แท่งเทียน Hammer
รูปแบบ Price Action แบบ Hammer มีลักษณะเหมือน “ค้อน” เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงแนวโน้มขาขึ้นในอนาคต หรือ Bullish โดยจะใช้ใน 2 ลักษณะ คือ 1 สัญญาณกลับตัวจาก 'ขาลง' กลายเป็น 'ขาขึ้น' และ 2 สัญญาณบอกว่า 'การพักตัว' ได้จบลง และราคากำลังจะขึ้น
ขอบคุณรูปจาก admiralmarkets
Hammer แสดงให้เห็นว่า Seller พยายามทุบตลาดให้ต่ำลงกดเกิด New Low แต่ Seller ไม่ได้แข็งแกร่งมากเพียงพอและหมดแรงกะทันหัน ซึ่งเป็นผลทำให้ต้องปิดสถานะและออกจากตลาดไป ส่งผลให้ Buyer กลายเป็นผู้มีอิทธิพลในตลาดทันที โดยตัวแท่งเทียนจะมีข้อสังเกตดังนี้
ราคา Open และ Close มักจะอยู่โซนกึ่งบนของแท่งเทียน
ราคา Open, Close อาจจะใกล้เคียงกัน โดยราคา Close ที่สูงกว่า จะสะท้อนกำลังที่มากกว่าของฝั่ง Buyer
ขอบคุณรูปจาก admiralmarkets
ตัวอย่างคู่เงิน EURUSD ในภาพไฮไลต์สีเหลืองคือแท่งเทียนที่เกิดรูปแบบ Hammer ขึ้นมา จะเห็นว่า แท่งเทียนตัวแรกจะสะท้อนว่า Buyer มีพลังมากกว่าค่อนข้างมาก เนื่องจากราคา Close ดันขึ้นมาสูงกว่า Open มากพอสมควร อีกข้อสังเกตก็คือ Hammer ทั้งสองเกิดขึ้นในแนวโน้มขาลง นั่นก็คือเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการกลับตัวไปเป็นแนวโน้มขาขึ้นในอนาคต
พื้นฐานการเทรดด้วยรูปแบบ Hammer
เข้าเทรด : เมื่อเกิดแท่งเทียน Hammer อาจพิจารณาเข้าเทรดได้ 2 กรณี คือ 1 เข้า Buy เมื่อจบแท่ง Hammer 2 เข้า Buy เมื่อจบอีกแท่งเทียนที่อยู่ถัดจากแท่ง Hammer
Stop Loss : การตั้งจุดตัดขาดทุน สามารถตั้งไว้ใต้แท่งเทียนที่เกิดเป็นรูปแบบ Hammer ได้เลย เพราะหากราคายังสามารถกดลงมาต่ำกว่า Low ของแท่งเทียนได้อีก ก็แปลว่า Buyer ยังไม่ได้เข้ามามีอิทธิพลและแข็งแกร่งพอจะผลักดันตลาดได้จริงๆ เราจึงต้องตัดขาดทุนทิ้งไปก่อน
Take Profit : มีหลายวิธีในการปิดทำกำไร แต่โดยทั่วไปจะปิดที่แนวต้าน และในกรณีนี้สามารถออกจากตลาดได้เลย เมื่อราคาวิ่งกลับไปแตะ Swing High ทางด้านซ้าย
2.รูปแบบ Price Action แท่งเทียน Shooting Star
รูปแบบ Price Action แบบ Shooting Star คือขั้วตรงข้ามของ Hammer โดนเหมือนกระสุนที่ยิงดวงดาวบนท้องฟ้าและตกลงอย่างรวดเร็ว เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงแนวโน้มขาลงในอนาคต หรือ Bearish แน่นอนว่าจะใช้ใน 2 ลักษณะ คือ 1 สัญญาณกลับตัวจาก 'ขาขึ้น' กลายเป็น 'ขาลง' และ 2 สัญญาณบอกว่า 'การพักตัว' ได้จบลง และราคากำลังจะลง
ขอบคุณรูปจาก admiralmarkets
Shooting Star สะท้อนพละกำลังที่หายไปอย่างกะทันหันของฝั่ง Buyer แน่นอนว่า ต้องมี Buyer มากมายโดนบังคับให้ปิดสถานะแถวๆ ไส้เทียน แล้วส่งผลให้ Seller เป็นผู้มีอิทธิพลต่อตลาดในทันที โดยการเกิดแท่งเทียน Bearish ถัดจากนี้ จะสิ่งที่ยืนยันแนวโน้มขาลงที่กำลังเกิดขึ้นใหม่
ขอบคุณรูปจาก admiralmarkets
หากเราเข้าใจเรื่อง Hammer เราก็เข้าใจรูปแบบ Price Action แบบ Shooting Star ได้ไม่ยาก เพราะเป็นการกลับฝั่งกัน
Hammer เกิดขึ้นในแนวโน้มขาลง : บ่งบอกว่า Bullish หรือขาขึ้นกำลังจะมา
Shooting Star เกิดขึ้นในแนวโน้มขาขึ้น : บ่งบอกว่า Bearish หรือขาลงกำลังจะมา
ทั้งนี้ จะภาพที่ จะเห็นว่า Shooting Star ที่มีประสิทธิภาพ ควรเกิดขึ้นในจุดที่เป็นยอดของ Swing นั้นๆ ซึ่งก็คือที่แท่งเทียนที่ 1 กับ 3 ที่ได้ไฮไลต์สีเหลืองไว้ แต่แท่งเทียน Shooting Star แท่งที่ 2 ที่เกิดขึ้นตรง Low ซึ่งเป็นจุดพักตัวนั้น ถือว่าเป็นสัญญาณที่ไม่ได้บอกนัยสำคัญเกี่ยวกับทิศทางราคา
3.รูปแบบ Price Action แท่งเทียนคนท้อง Harami
รูปแบบ Harami คืออีกหนึ่งรูปแบบสำคัญที่สะท้อนว่า พละกำลังของทิศทางหลักเริ่มมีปัญหาขึ้น แต่ราคาก็ยังไม่เลือกทิศทางชัดเจน โดยจะมี 2 แท่งเทียนประกอบกัน แท่งเทียนแรกจะมีขนาดใหญ่ แท่งเทียนถัดมาจะมีขนาดที่เล็กและอยู่ภายในกรอบของแท่งเทียนก่อนหน้า
Harami คือ “คนท้อง” เปรียบเสมือนแท่งเทียนก่อนหน้าที่เป็นแม่ หรือ Mother Bar และแท่งเทียนถัดไปที่อยู่ภายในแท่งเทียนก่อนหน้า ก็คือ “ลูก” แท่งเทียนที่เป็นลูกหรืออยู่ภายในแท่งก่อนหน้า เราเรียกอีกอย่างว่า Inside Bar
ขอบคุณรูปจาก admiralmarkets
แม้รูปแบบ Harami จะถือว่ามีทั้งที่เป็น Bullish และ Bearish แต่ในทางปฏิบัติแล้ว Harami จะบ่งบอกว่า ตลาดยังไม่แน่ใจ หรือกำลังตัดสินใจเลือกทิศทางอยู่ ดังนั้น นักเทรด Forex หลายคนจะรอให้ราคา Breakout ให้พ้นกรอบของแท่งเทียนก่อนหน้าไปก่อน
และหากเราพิจารณาภาพที่ ด้านล่าง จะเห็นได้ชัดเจนเลยว่า ทำไมรูปแบบ Harami ถึงหมายถึง “ความไม่แน่นอน” และนักเทรดควรรอให้เกิดการ Breakout ออกไปก่อน ซึ่งเหตุผลก็คือไส้ในของรูปแบบ Harami ก็คือ Pattern สามเหลี่ยมในไทม์เฟรมย่อยๆ นั่นเอง
ขอบคุณรูปจาก admiralmarkets
สิ่งสำคัญของรูปแบบ Price Action แบบ Harami ซึ่งไส้ในเรารู้แล้วว่ามันคือสามเหลี่ยม ก็คือ “ขนาดของ Harami” เพราะถ้าชุดของการเกิด Harami มีขนาดเล็ก นั่นอาจหมายถึงการพักตัวเพื่อไปต่อ ในขณะที่ Harami ในไทม์เฟรมใหญ่ๆ มันก็คือสามเหลี่ยมขนาดใหญ่ ซึ่งถ้าเกิดขึ้นในจุดยอดของ Swing มันสามารถผลักให้ราคากลับตัวได้ง่ายมากๆ ตามภาพตัวอย่างด้านล่าง
ขอบคุณรูปจาก admiralmarkets
ในบทความนี้เราได้ยกรูปแบบ Price Action ที่สำคัญมาทั้งหมด 3 รูปแบบ ซึ่งนี่คือพื้นฐานในการอ่าน Player เพียงเราเข้าใจแค่ 3 รูปแบบ เราก็ไม่จำเป็นต้องไปท่องจำรูปแบบราคาที่มีเยอะเกินความจำเป็น ทั้งนี้ จะเห็นว่า ทั้งรูปแบบ Hammer, Shooting Star และรูปแบบ Harami มันบ่งบอกถึงสภาวะของแนวโน้มมีเริ่่มมีปัญหา ซึ่งจะสรุปให้ดังนี้
Hammer, Shooting Star: บ่งบอกถึงการเปลี่ยนทิศ หรือการถูกบีบออกจากตลาดอย่างกระทันหัน ทำให้ Player อีกฝั่งเข้ามามีบทบาท
Hammer, Shooting Star: ต้องเกิดในจุดที่เป็นยอด High หรือหลุม Low ของรอบ Swing ด้วย การเกิดรูปแบบนี้ในโซนพักตัวมักไม่ได้บ่งบอกนัยสำคัญที่เกี่ยวกับทิศทาง
Harami: สิ่งสำคัญ คือ “ขนาด”
Harami ขนาดใหญ่ หมายถึง ความผันผวนที่สูง โอกาสกลับตัวจะมากกว่า (เพราะถ้าราคาจะไปต่อ ต้องไปกำลังมากกว่าปกติ)
Harami ขนาดเล็ก มีแนวโน้มที่จะเป็นการพักตัวเพื่อไปต่อมากกว่า
ขอบคุณข้อมูลจาก admiralmarkets
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับ "ความเสี่ยงในการเทรดฟอเร็กซ์" ซึ่งนักเทรดควรทราบเพื่อการตัดสินใจที่ดียิ่งขึ้น โดยเน้นปัจจัยที่สำคัญ เช่น ความเสี่ยงจากเลเวอเรจที่อาจทำให้เกิดการขาดทุนมากกว่าที่คาดไว้ อัตราดอกเบี้ยที่ส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยน และความเสี่ยงจากคู่สัญญาที่อาจทำให้การทำธุรกรรมไม่เสร็จสมบูรณ์ รวมถึงความเสี่ยงจากประเทศที่มีผลต่อเสถียรภาพของสกุลเงิน การทำความเข้าใจความเสี่ยงเหล่านี้จะช่วยให้นักลงทุนสามารถปกป้องทุนและเตรียมพร้อมรับมือกับความท้าทายในการเทรดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บทความนี้อธิบายถึงความสำคัญของการรู้จักและหลีกเลี่ยงการ "Overtrade" ในการเทรด Forex โดยเน้นว่าการ Overtrade คือการเปิด Lot สูงเกินไปหรือเทรดบ่อยเกินไปในช่วงเวลาสั้น ๆ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงและอาจทำให้เงินทุนหมดได้ง่าย สาเหตุสำคัญมาจากการปล่อยให้อารมณ์ เช่น ความโกรธหรือความโลภ มีอิทธิพลต่อการเทรด บทความยังแนะนำวิธีการแก้ปัญหา เช่น การหยุดเทรดชั่วคราว เริ่มใหม่ด้วยบัญชี Demo และทบทวนแผนการเทรดเพื่อให้เกิดการจัดการความเสี่ยงที่ดีขึ้น สรุปว่า การควบคุมอารมณ์และเทรดอย่างมีสติเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาพอร์ตให้มั่นคง
ในบทความนี้ เราจะพูดถึงประเด็นสำคัญที่เทรดเดอร์หรือนักลงทุนต้องจำในระหว่างการเลือกตั้งสหรัฐฯ เราจะพูดถึงสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นพิเศษ เริ่มกันเลย
บทวิเคราะห์ทองคำ
FP Markets
ATFX
XM
IC Markets Global
OANDA
STARTRADER
FP Markets
ATFX
XM
IC Markets Global
OANDA
STARTRADER
FP Markets
ATFX
XM
IC Markets Global
OANDA
STARTRADER
FP Markets
ATFX
XM
IC Markets Global
OANDA
STARTRADER